top of page

CHANGE THOUGHTS BY ARTICLES

by BeboyL Thanabat

อาจมีบทความที่เป็นประโยชน์กับคุณ แล้วมาสร้างการเปลี่ยนแปลงทางความคิด และขับเคลื่อนสังคม และโลกใบนี้ให้น่าอยู่ยิ่งขึ้นไปด้วยกัน ลองอ่านดูนะครับ

_W2A1341-3.jpg

"ทำเรื่องฝุ่น ให้เป็นเรื่องใหญ่"บทเรียนเรื่อง "ฝุ่นในอากาศ PM 2.5" 😷 สอนอะไรคนในชาติได้บ้าง?

Writer: Beboyl ThanabatBeboyl Thanabat

written by Thanabatra Beboyl Chaidarnn

page owner: ตุ๊ดส์review / Pussy can talk


อากาศในเมืองใหญ่ไม่ได้เพิ่งมาเลวร้ายวันนี้ ผมขอย้ำอีกทีว่ามันเลวแบบนี้มานานมากแล้ว แต่มันเพิ่งระเบิดออกมาเป็นปัญหาให้เราตื่นตัวครับ ดังนั้นวันนี้เรื่องฝุ่นๆไม่ใช่เรื่องเล็กๆอีกต่อไป มันถึงเวลาที่เราจะมาฉุกคิด เรียนรู้ และแก้ไขปัญหา ก่อนที่ฝุ่นบ้านี่ จะใหญ่คับเมือง ครองบ้านเราไปนานกว่านี้


😷 "เมื่อความเป็นเมืองขยายตัว...มลพิษทางอากาศก็ขยายตาม"


เราจะสังเกตว่าในเมืองมีกิจกรรมการเผาไหม้ และสร้างมลภาวะหนาแน่นมาก เราอยู่กับการใช้ชีวิตประจำวันที่สร้างมลภาวะฝุ่นควันทุกวัน แต่เราเพิกเฉยกับมัน ทั้งการเผาขยะ การก่อสร้างอาคาร การปล่อยควันพิษจากโรงงาน การเผาถ่านหินจากโรงไฟฟ้า การปล่อยควันดำจากท่อไอเสียรถยนต์ และอีกนานากิจกรรมที่เราทำ


พอกิจกรรมของเราขยายตัว น่าแปลกที่เรากลับไม่สร้าง "ปอดของโลก" คือต้นไม้มาช่วยชีวิตเรา เราจะเห็นว่าการตัดต้นไม้เป็นเรื่องปกติ และในยุคหลังๆมานี้ไม่มีการรณรงค์การปลูกต้นไม้สีเขียวให้เราได้เห็นกัน เอาง่ายๆ แค่ริมทางตามฟุตบาธ ยังโกร๋นเกลี้ยง เมื่อไม่มีปอดที่ใหญ่พอไว้ดูดซับมลพิษ แต่มลพิษตัวร้ายเพิ่มขึ้นทุกวัน อากาศจึงพังไม่เป็นท่า


😷 "เมื่อรัฐบาลส่งเสริมกิจกรรมการเผาไหม้ ผ่าน ม. 44 ราวกับช่วยเผาชาติให้เร็วขึ้น"


จากข้อมูลของแหล่งข่าว ispace Thailand (Link: https://goo.gl/gw1rLS) ระบุว่า "เมื่อ 2559 หรือเมื่อ 2 ปีที่แล้ว คำสั่งหัวหน้าคสช. ที่ 4/2559 ใช้อำนาจ ม. 44 เปิดทางให้เอกชนสามารถตั้งโรงงานหลายประเภท เช่น โรงงานเผาขยะ โรงงานไฟฟ้า โดยไม่ต้องสนใจกฎหมายและกฎระเบียบใด"


นั่นหมายความว่า รัฐบาลขาดการควบคุมผังเมือง เพื่อให้เอกชนใช้สอยพื้นที่ตามต้องการอย่างอิสระ ทำให้ผังเมืองถูก ‘ฉีก’ เป็นการชั่วคราว หรือหมายถึง การงดเว้นการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยผังเมืองเพื่อเปิดทางให้ประกอบกิจการบางประเภท เช่น โรงงานผลิตก๊าซชีวภาพ โรงบำบัดน้ำเสีย เตาเผาขยะ โรงงานคัดแยกและฝังกลบสิ่งปฏิกูล หรือ หลุมฝังกลบขยะ โดยไม่ต้องคำนึงถึงการกำหนดโซนผังเมือง


แน่นอนว่ารัฐบาลส่งเสริมความเป็นเมือง ส่งเสริมธุรกิจ ให้เมืองมีการดำเนินกิจกรรมกิจการทุกอย่างอย่างให้เสรี แต่ลืมนึกไปว่า "สิ่งแวดล้อม" และ "สุขภาพของประชาชน" นั้นสำคัญมากเพียงใด ส่งผลให้ทั้งเมือง และอากาศจึงพังเละเทะไม่เป็นท่า


😷 "เมื่อคนในชาติเดือดร้อน...ทางออกคือการแก้ไขปัญหาปลายเหตุ"


ไม่ว่าจะฉีดน้ำ ฝนหลวง หรือการหาหน้ากากมาใส่ นี่เป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาชาติด้านมลพิษอากาศ แบบปลายเหตุ (Passive Solution) คือการรอให้เกิดแล้วไปแก้ แต่ไม่ได้แก้ที่ต้นเหตุ


ในขณะที่บ้านเมืองอื่น ชาติอื่นเขามีปัญหา เขามุ่งวิธีการแก้ปัญหาไปที่ต้นเหตุ (active solution) คือการหยุด / ลดละการก่อเกิดกิจกรรมเผาไหม้ในเมือง ไม่ว่าจะเป็นประเทศเกาหลีใต้ จีน อินเดีย เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี เดนมาร์ก และเมืองใหญ่ๆทั่วโลก ต่างเป็นตัวอย่างที่ดีในการแก้ไขปัญหามลภาวะของชาติ แต่เราไม่ได้เอาเขาเป็นตัวอย่างเลย ยกตัวอย่างนโยบายการแก้ปัญหาระดับนานาชาติที่น่าสนใจ เช่น


- จีน: สั่งปิดโรงไฟฟ้าถ่านหิน / งดการเผาใบไม้ / ระงับโครงการก่อสร้างช่วงที่สุ่มเสี่ยงมลภาวะในอากาศสะสม

- เดนมาร์ก: รณรงค์ให้คนใช้จักรยาน

- เมืองใหญ่อย่างปารีส เอเธนส์ มาดริด และเม็กซิโกซิตี้: รณรงค์เลิกใช้รถดีเซลที่เป็นสาเหตุของฝุ่นละอองมลพิษ และรณรงค์ให้คนใช้ขนส่งสาธารณะ

- เยอรมัน: มีคำสั่งห้ามจอดรถใกล้บ้าน เสียเงินค่าเช่าจอดแพง เพราะไม่อยากให้คนมีรถ หันไปใช้งานขนส่งสาธารณะ

- อินเดีย: ห้ามจุดพลุไฟในเทศกาลต่างๆ และห้ามแท็กซี่ดีเซลขับให้บริการ

- เกาหลีใต้: ปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินชั่วคราวในช่วงวิกฤติมลพิษ และเตรียมปิดถาวรปีหน้า

(ข้อมูล Best Practices จาก The Standard)


แต่เรายังฉีดน้ำขึ้นฟ้า ซึ่งไม่ช่วยอะไร และรณรงค์ใส่หน้ากากรุ่น N95 ที่นายกบอกเราว่างบชาติจำกัด ให้เราดูแลตัวเองกันไป (แต่มีเงิน 500 ไปแจกคนจนทั่วประเทศเนอะ ถุย!) และก็เพิ่งจะมาเป็นเดือดเป็นร้อนเรื่องแหล่งเผาไหม้ในเมือง ทั้งๆที่ตนเองเป็นผู้เห็นชอบให้เกิดการสร้างมลพิษมายาวนานกว่า 2 ปี ผ่าน ม. 44 หรือแม้กระทั่ง กรมการขนส่ง เพิ่งจะมาร้องให้ประชาชนช่วยกันตรวจตราและแจ้งเมื่อพบรถเมล์ที่มีควันดำ (ทำไมไม่ไปตรวจเอง ใช้ประชาชนตรวจจับให้ทำไม มัวยุ่ง ทำอะไรอยู่เหรอ???) หรือพยายามออกกฎด่วนๆมาห้ามขับ ในช่วงที่ท้องถนนเต็มไปด้วยเขม่าควันพิษดำทมึนไปหมดแล้ว


😷 "บทเรียนราคาแพงเรื่องมลภาวะในอากาศ กำลังสอนอะไรเราบ้าง"


🤬 เมืองจะขยายยังไงก็แล้วแต่ จะเจริญมากแค่ไหน ต้องไม่ลืมสิ่งแวดล้อม และสุขภาพอันดีของประชาชน


🤬 กฎหมายในบ้านเมืองมีไว้เพื่อคุ้มครองเราทุกคน ดังนั้น หากจะยกเลิกกฎต้องพิจารณาถึงผลกระทบที่มีต่อประชาชนด้วย อย่าเห็นซึ่งผลประโยชน์ทางธุรกิจเท่านั้น เมื่อรัฐเป็นช้างเท้าหน้า ผู้นำทัพ เดินหน้าให้กับประเทศ มีโอกาสที่จะชี้เป็นหรือชี้ตายในแนวทางปฏิบัติ และกรอบกฎหมายที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตคน ควรต้องทบทวนให้ดี ว่าสิ่งที่ทำ กำลังสร้างประโยชน์ส่วนตน หรือประโยชน์กับประชาชน ไตร่ตรองอย่างรอบคอบ ก่อน action ใดๆ


🤬 ประเทศเราเป็นประเทศที่ต้องรอให้มีปัญหาก่อน แล้วค่อยไปดับปลายเหตุ แต่ไม่แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ มันทำให้เราแก้ปัญหาไม่ขาด เหมือนชาติอื่นเขา ต้องรอให้เกิด ให้พัง จึงจะมีบทเรียน คล้ายๆกับตอนซึนามิมาผลาญเอาชีวิตและทรัพย์สินเสียหาย จึงจะเพิ่งมีการติดตั้งระบบสัญญาณเตือน


🤬 เราไม่ใช่ประเทศแรกที่เกิดปัญหาอะไรแบบนี้ เมื่อมีตัวอย่างที่ดีที่เป็น Best Practices เรากลับไม่เรียนรู้แนวทางการหาทางออกของประเทศที่เจริญแล้ว แต่กลับทำอะไรบ๊องๆ มันก็จะทำให้เรายังคงเป็นประเทศที่กำลัง (จะ) พัฒนาต่อไป


----


ประเทศเราใช้ทรัพยากรกันจนพินาศ แต่คำถามกลับคือ เมื่อรัฐบาลผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกลมองเห็น 'สุขภาวะของประเทศชาติ' พังขนาดนี้ คุณกำลังทำอะไรบ้าง นอกจากเตรียมเลือกตั้งอีกสมัย และเผ้ารอให้ตนเองได้เป็นรัฐบาล เมื่อประชาชนกำลังสุขภาพย่ำแย่ และเมืองกำลังวอดวายขนาดนี้ คิดสิคิด


#ทำเรื่องฝุ่นให้เป็นเรื่องใหญ่

Comments


Home: Blog2

CONTACT

Your details were sent successfully!

_W2A1341-2.jpg
Home: Contact

©2019 by Thanabat Chaidan. Proudly created with Wix.com

  • facebook
bottom of page